Surprise Box เทคนิคเพิ่มการมีส่วนร่วมจากความตื่นเต้นของผู้บริโภค

 

เหตุผลมักนำมาซึ่งการคิดวิเคราะห์ เมื่อยื่นเหตุผลให้ ผู้บริโภคจะการเปรียบเทียบระหว่างแบรนด์ต่าง ๆ ว่าควรจะตัดสินใจเลือกซื้อ ใช้บริการ หรือร่วมกิจกรรมกับแบรนด์ใดมากกว่ากัน แต่ถ้าทำให้ผู้บริโภครู้สึกอะไรสักอย่างกับแบรนด์ได้ การโน้มน้าวให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ จะง่ายขึ้นอย่างมาก และไม่มีความรู้สึกใดจะทรงพลัง และกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมมากไปกว่า “ความตื่นเต้น” อีกแล้ว

ด้วยฐานข้อมูลของ BUZZEBEES ที่มีจำนวนผู้ใช้บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ มากกว่า 160 ล้านบัญชีทำให้เราทราบว่า ลักษณะแคมเปญที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกลุ้นว่าสิ่งที่ได้รับจากแบรนด์จะเป็นอะไร เป็นสินค้ารูปแบบใด มูลค่าเท่าไหร่ จำนวนมากน้อยแค่ไหน เป็นความรู้สึกที่ผลักดันให้ผู้บริโภครู้สึกตื่นเต้นและอยากเข้าร่วมกิจกรรมหรือแคมเปญต่าง ๆ ที่ทางแบรนด์จัดมากกว่าแคมเปญชนิดอื่น ๆ ยิ่งถ้าทางแบรนด์ทำให้เชื่อได้ว่ามีโอกาสที่ผู้บริโภคจะได้รับสินค้า หรือของรางวัลที่คุ้มค่ามากกว่าคะแนนที่ใช้ไป ยิ่งทำให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น ถี่ขึ้น และในวงกว้างขึ้น การใช้เครื่องมือทางการตลาดรูปแบบนี้มีผลดีหลากหลาย

 

1. เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค

ตามที่กล่าวไปข้างต้น ความตื่นเต้นและความรู้สึกลุ้น มีผลอย่างมากต่อการเข้าร่วมแคมเปญของผู้บริโภค มีกรณีศึกษาของแบรนด์สินค้าน้ำดื่มยี่ห้อหนึ่งที่สามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมระหว่างจัดแคมเปญ Surprise Box ได้มากถึง 55% ของช่วงเวลาปกติ

 

2. เพิ่มสีสันและความน่าดึงดูดให้กับแบรนด์

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น การทำการตลาดด้วยวิธีการเดิม ๆ อย่างการลด แลก แจก แถม อาจไม่ใช่ทางเลือกที่จะสร้างผลลัพธ์ได้ดีเหมือนในอดีตที่ผ่านมา การมีลูกเล่นใหม่ ๆ ทำให้ผู้บริโภคสัมผัสกับแบรนด์ด้วยวิธีที่แตกต่างออกไป จะทำให้เกิดความรู้สึกสดใหม่ และทำให้ผู้บริโภคมีมุมมองและความสัมพันธ์ต่อแบรนด์ที่ดีขึ้น

 

3. ยกระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค

อาจมีข้อถกเถียงว่า ผู้บริโภคอาจไม่พอใจในสินค้าที่ได้รับไป เนื่องจากคาดหวังไว้สูงกว่าสิ่งที่ได้รับ แต่ในความเป็นจริงแล้วแคมเปญแบบนี้ ลูกค้าจะคาดไว้อยู่แล้วว่าอาจจะไม่ได้รับรางวัลสูงสุดหรือแจ็กพ็อต ใครได้รับถือว่าโชคดี ส่วนใครไม่ได้ก็ถือว่าเท่าทุน หากแบรนด์จัดการแคมเปญอย่างดี ไม่ทำให้เกิดกรณีที่ผู้บริโภคได้รับสินค้าต่ำกว่ามาตรฐาน หรือได้รับสินค้าที่ทำให้รู้สึกไม่คุ้มค่า ก็มีโอกาสน้อยมาก ๆ ที่ผู้บริโภคจะรู้สึกไม่พึงพอใจ

 

4. แบรนด์สามารถควบคุมต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายได้

เนื่องจากไม่มีใครรู้ว่าสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับคืออะไรนอกจากตัวแบรนด์เอง แบรนด์สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้โดยตรง อีกทั้งแบรนด์ยังสามารถใช้โอกาสนี้ในการจัดการสต๊อกของที่ต้องการระบายออกจากสินค้าคงคลัง หากสินค้าที่ส่งถึงมือผู้บริโภคไม่ใช่สินค้าหมดอายุ หรือใกล้หมดอายุที่จะนำมาซึ่งปัญหาความไม่พึงพอใจของผู้บริโภคแล้วล่ะก็ ถือเป็นโอกาสที่ดีของแบรนด์ที่จะได้เพิ่มความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มาร่วมแคมเปญ โดยสามารถควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้

การจัดแคมเปญลักษณะนี้เหมาะกับแบรนด์ที่มีสินค้าหลากหลายชนิด เพราะจะทำให้ผู้บริโภคคาดเดาไม่ได้ว่าจะได้รับสินค้าชนิดใด อีกทั้งยังช่วยเรื่องการจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างดีเยี่ยม ส่วนโอกาสที่เหมาะให้แบรนด์เลือกใช้แคมเปญชนิดนี้ก็คือการเฉลิมฉลองเทศกาลต่าง ๆ หรืออาจจะเป็นการเฉลิมฉลองการครบรอบขวบปีของแบรนด์ก็ได้

ด้วยประสบการณ์กว่า 12 ปี BUZZEBEES เชื่อมั่นว่าฟีเจอร์ของเราครอบคลุมความต้องการของแบรนด์ต่าง ๆ ทำให้พาร์ทเนอร์ของเรามั่นใจได้ว่า ไม่ว่าความคิดสร้างสรรคในส่วนของพาร์ทเนอร์จะไปไกลแค่ไหน BUZZEBEES ก็จะมีโซลูชันและฟีเจอร์ที่พร้อมจะเชื่อมต่อเสมอ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของพาร์ทเนอร์ และเพื่อยกระดับ CRM ecosystem ทั้งระบบด้วย